สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 650  อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

วรรคสอง สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2553 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน เท่ากับจำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 จำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2552 การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเพียง 15,000 บาท แต่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยระบุจำนวนเงินกู้ไว้ 40,000 บาท เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะดำเนินการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 40,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงความไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงิน ทั้งนี้เพราะสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยที่ 3 ย่อมนำสืบได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 3 นำสืบดังกล่าวเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 40,000 บาท จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้นำพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 มาวินิจฉัยเพื่อชั่งน้ำหนักกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าข้อเท็จจริงเชื่อฟังเป็นยุติอย่างไร ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ใช้อำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104

ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้น จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้ออื่นโดยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น ข้อฎีกาดังกล่าวมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้ตำแหน่งหน้าที่พิจารณาอนุมัติการยืมทรัพย์สินที่ไม่สามารถยืมได้ เพราะเป็นทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลืองออกนอกบริเวณโรงงาน แต่จำเลยไม่ได้นำระเบียบข้อบังคับมาแสดง ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยก็มิได้ระบุนิยามคำว่า ทรัพย์สินประเภทใช้สิ้นเปลืองไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 ซึ่งหมายถึงทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป แต่ทรัพย์สินที่โจทก์อนุมัติให้ พ. ยืม คือ สายไฟฟ้า ท่อหุ้มสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้าตัวผู้ ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย เบ้าปลั๊กไฟฟ้า ไม่ใช่ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป จึงไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9716/2544 ข้อเท็จจริงที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้ดังกล่าวกับสัญญาจำนอง ทำขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของภริยาจำเลยมิใช่ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง

การไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้คงมีผลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 650 ว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ และการทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คงมีผลตามมาตรา 1480 ว่า นิติกรรมสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ อันอาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้เท่านั้น แต่หาได้ตกเป็นโมฆะจนถึงกับโจทก์ผู้ให้กู้ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ ส่วนเรื่องการบอกเลิกสัญญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไปดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับจำเลย การขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจำเลยจะมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่